Google science fair นิทรรศการวิทยาศาสตร์ครั้งแรกบนโลกไซเบอร์


(Fast Company) -- เป็นเวลาหลายปีที่พนักงานของ Google เสนอโครงการที่ออกมาจากใจของพวกเขา ให้ Google เป็นผู้นำในการจัดงานนิทรรศการวิทยาศาสตร์

"มีข้อเสนอมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน" Christina Frodella ผู้จัดการอาวุธโสฝ่ายผลิตที่สถาบัน Google กล่าว

วันนี้พนักงานของ Google และเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจะต้องดีใจแน่ๆ

Google ได้เปิดงาน Google Science Fair การแข่งขันวิทยาศาสตร์ออนไลน์ทั่วโลกเป็นครั้งแรก เปิดกว้างสำหรับนักเรียนอายุตั้งแต่ 13-18 ที่สนับสนุนบริการของ Google เพื่อใช้บันทึกและแบ่งปันผลงานต่อผู้อื่น

"เราอยากให้เด็กๆใช้เครื่องมือออนไลน์ของเราเพื่อที่พวกเขาจะได้มีส่วนร่วมในงาน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลกใบนี้ พวกเขาอาจจะอยู่ที่โรงเรียนหรือที่ไหนซักแห่งที่ไม่มีงานนิทรรศการวิทยาศาสตร์ในที่ของพวกเขา" Frodella กล่าวกับ Fast Company

พวกเขาทำได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นจะต้องใช้อินเตอร์เน็ท

งานนี้ต่างจากนิทรรศการวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ทั่วไปอย่างในที่ๆคุณอยู่ การแข่งขันที่จัดโดย Google เริ่มต้นขึ้นในเช้าวันที่ 12 มกราคมที่นิวยอร์คด้วยการแสดงผลงานจาก Syyn Laps องค์กรณ์ที่อยู่เบื้องหลังเครื่องจักร Rube Goldberg

เครื่งจักรของ Syyn สำหรับ Google ยิงแสงเลเซอร์เพื่อเปิดสวิชให้เปิดผ้าคุมป้ายงาน แล้ว Google ก็นำผลงานทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาแสดงบนเวทีให้กับเด็กนักเรียนประมาณ 100 คนที่มาร่วมงานได้ชม

ผู้ร่วมงานของ Google ในครั้งนี้ประกอบด้วย National Geographic, CERN, Scientific American และ Lego ดังนั้นคณะกรรมการจึงไม่ใช่คุณครูสอนชีววิทยาของเด็กเกรด 8 หรือโค้ชทีมฟุตบอลที่จบเคมี พวกเค้ามีทั้ง Vint Cerf หนึ่งในบิดาแห่งอินเตอร์เน็ท และ Spencer Wells นักพันธุศาสตร์ของ National Geographic

Cerf เล่าประวัติของอินเตอร์เน็ทสั้นๆ เขาบอกกับเด็กๆว่าการค้นพบอันยิ่งใหญ่ไม่ใช่เรื่องบังเอิน นักวิทยาศาสตร์ต้องตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน ประสบความล้มเหลว แล้วก็ตั้งคำถามใหม่ ไม่เหมือนกับสิ่งที่นำมาสอนเด็กนักเรียนเพราะสิ่งเหล่านั้นถูกค้นพบข้อเท็จจริงหมดแล้ว จำไว้ว่า 95% ของจักรวาลเป็นเรื่องที่เราไม่รู้

William Kamkwamba จาก Malawi, Africa เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง เขาเป็นลูกชาวนา มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน เขาเรียนรู้วิธีการสร้างกังหันลมเพื่อให้พลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในบ้านและปั๊มน้ำเข้าพื้นที่แห้งแล้ง เขายังสอนเพื่อนบ้านให้รู้วิธีการสร้างกังหันลมอีกด้วย เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของโรงเรียนและปรับปรุงหมู่บ้าน

ถ้าเรื่องราวของเขายังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นบรรดานักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่อยู่ในห้องนี้หรือที่กำลังชมผ่านทางออนไลน์อยู่ละก็ลองมาดูเรื่องของ Tesca Fitzgerald สาวน้อยไดนาโมวัย 15 ปีจาก Portland, Oregon

เธอเริ่มโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตอนอายุได้ 5 ปี สมัครเข้าวิทยาลัยตอนอายุ 12 และปีที่แล้วทักษะของเธอได้รับการยอมรับจาก National Center for Woman Information Technology

หนึ่งในผลงานวิจัยของ Fitzgerald คือการใช้สมองกลสั่งงานหุ่นยนต์ให้เป็นผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลท้องถิ่น V.A. เป็นโครงการตัวอย่างในเวปไซท์ของงาน Google Science Fair

เป้าหมายของ Google Science Fare ในครั้งนี้ไม่เพียงแค่มอบรางวัลใหญ่ที่มีทั้งทั้งแพคเกจทัวร์ที่เกาะ Galapagos และทุนการศึกษา $110,000 แค่เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องการให้ทั่วโลกมีวิธีการแก้ปัญหาทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับโลก ถ้าไม่เริ่มตอนนี้จะไปเริ่มตอนไหน

"เราต้องการให้เด็กๆสร้างสิ่งที่แตกต่างให้กับโลกใบนี้ พวกเขาสามารถเป็นตัวแทนแห่งความเปลี่ยนแปลงได้" Frodella กล่าว

วันสุดท้ายของการส่งผลงานคือวันที่ 4 เมษายน และในเดือนกรกฎาคมผู้เข้ารอบ 15 คนสุดท้ายจะได้เข้าร่วมงานมอบรางวัลที่สำนักงานใหญ่ Google ที่ Mountain View, California รายละเอียดเพิ่มเติม Google Science Fair

ที่มา : CNN
แปล, เรียบเรียง : thaiitnewsupdate.blogspot.com

Comments