QQi Instant Messenger สัญชาติจีนสู่ระดับสากล

(CNN) -- Tencent ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ทที่มีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เปิดให้บริการ instant messenger ที่มีชื่อเสียงของพวกเขาในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่นและฝรั่งเศษ

การเปิดให้บริการ QQi Instant Messenger คือเวอร์ขั่นที่เป็นสากลของ QQ Instant Messenger ภาษาจีนที่มีผู้ลงชื่อใช้งาน 600 ล้านคน เป็นบริการ Instant Messenger ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก

เวอร์ชั่นภาคภาษาเกาหลี สเปนและเยอรมันถูกวางแผนไว้ให้ใช้งานในต้นปีหน้า โฆษกของ Tencent กล่าว นอกจากนั้น Tencent ยังมีแผนที่จะเปิดให้บริการเครือข่ายสังคมในตอนต้นปี 2011 อีกด้วย

Marc Violo ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ QQi กล่าวว่าการเปิดให้บริการครั้งนี้เป็นก้าวย่างที่จะนำบริการของพวกเขาจากความนิยมอย่างสูงของชาวจีนไปสู่ผู้ใช้งานระดับสากล

"เราไม่มีความต้องการที่จะแข่งขันกับ Skype หรือ MSN instant messenger" Violo กล่าว

"เรากำลังมองหาเป้าหมายนอกประเทศที่สนใจในประเทศจีน"

QQ มีผู้ลงชื่อใช้งานอยู่แล้วจาก 212 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้งานจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป Violo บอกกับ CNN Tencent มีผู้ร่วมธุรกิจทีมีเวปไซท์ภาษาอังกฤษที่มีชื่อเสียงในประเทศจีนอย่างเช่นบริการท่องเที่ยว CTrip หนังสือพิมพ์ภาครัฐ China Daily ที่ดึง traffic จากลูกค้านอกประเทศ

"และถ้าคุณต้องการส่ง instant message ไปหาใครซักคนในประเทศจีน คุณจะได้เข้าถึงผู้ใช้งานออนไลน์ถึง 92% ที่นี่" Violo กล่าว

Tencent ยังทำธุรกิจร่วมกับ StumbleUpon ในแคนาดาที่ให้บริการเนื้อหาเกี่ยวกับ Discovery "QQi หวังว่าจะมีผู้ลงชื่อเข้าใช้งานระหว่าง 7-10 ล้านคนภายในเดือนกันยายน" Violo กล่าว

เวอร์ชั่นทดสอบได้เปิดให้ใช้งานเมื่อปีที่แล้วโดยมีเป้าหมายที่ชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศจีน ซึ่งมีผู้ลงชื่อเข้าใช้งาน 2 ล้านคน

Tencent ไม่ใช่บริษัทจากประเทศจีนเพียงแห่งเดียวที่ต้องการก้าวไปสู่ระดับสากล Baidu, search engine ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีนได้เปิดให้บริการในญี่ปุ่นเมื่อหลายปีที่แล้ว

Baidu มีแผนที่จะขยายไปสู่ภูมิภาคอื่นรวมทั้งละตินอเมริกา ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Keiser Kou โฆษกของ Baidu กล่าว

"เรามองหาตลาดที่ Google ไม่มีอิทธิพล เราชอบตลาดที่ไม่ใช้ภาษาละตินเป็นภาษาหลัก"

เมื่อเดือนพฤษจิกายน Robin Li, CEO ของ Baidu กล่าวว่า เขาหวังว่าภายในเวลา 10 ปี search engine ของประเทศจีนจะเป็นที่รู้จักดีถึง 50% ทั่วโลก

นักวิเคราะห์ยังไม่แน่ใจว่าแผนการทำธุรกิจระดับนานาชาติของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ทจากประเทศจีนเหล่านี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่

อุปสรรคที่เกี่ยวพันกับนโยบายเซนเซอร์อินเตอร์เน็ทภายในประเทศจีน กำหนดให้บริษัทต้องกำกับดูแลและกำจัดเนื้อหาที่มีความละเอียดอ่อนออกจากเวปไซท์ และบล้อคการใช้งานที่ไม่เหมาะสมเช่นเรื่องการเมืองเป็นต้น

"นี่คือกุญแจสำคัญสำหรับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ทจากประเทศจีนเหล่านี้ที่พยายามก้าวไปสู่ระดับสากล" Bill Bishop จากปักกิ่ง ที่ปรึกษาอิสระเกี่ยวกับสื่อกล่าว

บริษัทอย่าง Tencent ไม่มีทางเลือกนอกจากปฏิบัติตามกฎหมายอินเตอร์เน็ทของจีนหรือไม่ก็ปิดกิจการ ตัวอย่างเช่น เซิฟเวอร์ของ Tencent ได้บล้อคการ chat หรือโพสท์ข้อความที่มีเนื้อหาความละเอียดอ่อน

"ผมคิดว่าการ chat ทั้งหมดมีการเฝ้าระวังโดย QQ อย่างแน่นอน" Lu Gang ผู้ร่วมก่อตั้ง OpenWeb.Asia กลุ่มทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ทในเอชี่ยนโดยเฉพาะกล่าว

"ถ้าคุณพิมพ์คำที่มีความละเอียดอ่อน ข้อความจะถูกบล้อค ผมคิดว่าผู้คนจำนวนมากทราบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดีแต่ไม่มีใครยอมแพ้ QQ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอินเตอร์เน็ทในประเทศจีนไปแล้ว ถ้าคุณไม่ใช้บริการของ QQ คุณจะสูญเสียการติดต่อสื่อสารกับสังคมของคุณอย่างมากมาย"

ปัจจุบัน Tencent มีข้อพิพาทย์กับ Qihoo 360 ผู้ให้บริการซอฟแวร์ป้องกันไวรัสที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนที่กล่าวหา Tencent ว่าได้ทำการสแกนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานมากกว่า 600 ล้านคน ซึ่ง Tencent ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา

"กรณีของ Qihoo 360 นั้นเป็นเพียงการเพิ่มความสงสัยให้แก่ผู้คนเพียงเท่านั้น" Bill Bishop กล่าว

"Tencent อาจจะรู้สึกว่าพวกเขายิ่งใหญ่ แต่จะเป็นอะไรไปล่ะถ้าพวกเขาสามารถโน้มน้าวผู้ใช้งานให้รู้สึกปลอดภัยและตอนนี้มันก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด"

Violo กล่าวว่านี่เป็นเรื่องที่สามารถทำได้

"ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า QQ เป็นบริษัทระดับสากลที่ใหญ่มากและที่ชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์โดยมีผู้ถือหุ้นนับพัน" ผู้จัดการโครงการของ QQ กล่าว

"ทุกเรื่องจำเป็นต้องโปร่งใส แน่นอนพวกเราอยู่ในประเทศจีน ดังนั้นรัฐบาลสามารถกดดันพวกเราได้ และแน่นอนว่าเราต้องทำให้สอดคล้องกับเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนในประเทศจีน ถ้าคุณไม่คิดจะทำเรื่องที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลจีนแล้วละก็ QQ ปลอดภัยสำหรับคุณ"

ที่มา : CNN
แปล, เรียบเรียง : thaiitnewsupdate.blogspot.com

Comments